เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู Information and Communication Technology for Teachers

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

ประเพณีบุญบั้งไฟ


ประเพณีบุญบั้งไฟ

ประวัติความเป็นมาของบุญบั้งไฟ 

ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บุญเดือนหก” เป็นหนึ่งในฮีตสิบสองเดือนของชาวอีสาน
เป็นช่วงฤดูฝนเข้าสู่การทำนา ตกกล้า หว่าน ไถ เพื่อเป็นการบูชาแถนขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล เหมือนกับการแห่นางแมวของคนภาคกลาง
โดยมีตำนานมาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสาน เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทางพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟ
ขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล
และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติ
กับหมู่บ้านได้ ซึ่งจะจัดขึ้นทุก ๆ เดือนหกหรือพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี ด้วยความเชื่อตามเรื่องเล่านี้จึงทำให้ชาวอีสานทำบั้งไฟ
ทุกปีเพื่อเตือนพญาแถน


ประเพณีบุญบั้งไฟ ได้ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลาหลายชั่วอายุคน บุญบั้งไฟเป็นบุญประเพณีที่มีความสำคัญมายาวนาน นอกจาก
นั้นยังเป็นเครื่องหมายของความสามัคคีและมิตรภาพ และถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นการขอฝนและต่อสู้กับความแห้งแล้ง ถึงแม้ว่าความเชื่อถือด้าน
เทวดาผู้ซึ่งเป็นเจ้าแห่งฝนในปัจจุบันได้ลดน้อยกว่าในสมัยก่อน แต่ชาวลาวยังคงยึดถือจารีตประเพณี ดั้งเดิมนี้ ด้วยการสืบทอดจากการเตรียม
บุญบั้งไฟขึ้นในทุกๆปีก่อนฤดูเก็บเกี่ยว ควบคู่กับการจัดเตรียมบั้งไฟต่างๆของบุญนี้ ประเพณีต่างๆทางศาสนาพุทธ เช่น การสูตรรดน้ำมนต์
โดยเจ้าอาวาสวัดยังได้ถูกจัดขึ้นพร้อมๆกัน บุญบั้งไฟเป็นบุญประเพณีที่มีความหมายว่า ชาวไร่ชาวนาได้ทำการบูชาขอฝนจากพระยาแถน นอก
จากนี้แล้วบุญบั้งไฟยังเป็นวิธีเดียวที่มนุษย์ใช้สื่อสารกับเทวดาเพื่อเป็นการขอฝน 
  คนอีสานทำบุญบั้งไฟโดยมีจุดประสงค์หลายอย่าง เช่น ขอน้ำฝน เชื่อมความภักดี แสดงการละเล่น และการบูชาพญาแถนบูชาคุณพระ
พุทธเจ้า ชาวอีสานส่วนมากนับถือพระพุทธศาสนา เมื่อถึงเทศกาลเดือนหกซึ่งเป็นวันประสูติ วันตรัสรู้ และวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้าชาว
อีสานจะพากันบูชาคุณของพระพุทธเจ้า โดยการจัดดอกไม้ ธูปเทียนมาบูชาพระพุทธรูป การทำบุญบั้งไฟของชาวอีสานก็ถือว่าเป็นการบูชา
พระพุทธเจ้าด้วยอามิสบูชาอย่างหนึ่งการทำบุญบั้งไฟจะมีการบวชพระเณร เพื่อสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาพระและเณรเป็นคนใกล้ชิดและ
ติดต่อกับพระพุทธเจ้าและพระธรรม พระยาขอมทำบุญบั้งไฟครั้งนั้นก็มีบวชเณรด้วย การบวชพระบวชเณรและสรงน้ำหอมพระเณร ก็รวมอยู่
กันในประเพณีนี้ ดังนั้นการทำบุญบั้งไฟชาวอีสานจึงถือว่าเป็นการต่ออายุพระพุทธศาสนายืนยาวต่อไปการขอน้ำฝน การทำนาของชาวอีสาน
ต้องอาศัยน้ำฝน น้ำฝนที่ชาวอีสานอาศัยนั้นชาว อีสานก็สร้างเองไม่ได้ ต้องขอจากเทพบุตร เทพยดา ตามตำนานเล่าไว้ว่า มีเทพบุตรองค์หนึ่ง
ชื่อ วัสกาลเทพบุตรมีหน้าที่แต่งน้ำฟ้าน้ำฝนให้ตกลงมาชาวอีสานเชื่อตามตำนานนี้จึงทำบุญบั้งไฟเพื่อขอน้ำจากเทพบุตรองค์นั้นความสามัคคี
คนในบ้านหนึ่งเมืองหนึ่ง ต่างพ่อต่างแม่ ต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนาต่างจารีตประเพณีนั้นเมื่อมาอยู่รวมบ้านรวมเมืองเดียวกัน ต่างคนต่างอยู่
ไม่ได้ ร่วมกันทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองนั้นก็หาความสุขความเจริญไม่ได้ ถ้าคนในบ้านในเมืองถือกันเหมือนพี่เหมือนน้องมี
อะไรช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยก็ช่วยกันรักษาพยาบาล การทำบุญบั้งไฟของชาวอีสานก็เพื่อเชื่อมความสามัคคีให้เกิดขึ้นใน
บ้านเมืองการแสดงการละเล่น การทำบุญบั้งไฟเป็นการปิดโอกาสให้ทุกคนมาแสดงการละเล่น คนเราเมื่อได้เล่นได้กินร่วมกัน จะเกิดความ
รักใคร่ใยดีต่อกัน การเล่นบางอย่างจะสุภาพเรียบร้อย บางอย่างหยาบโลน แต่ก็ไม่ถือสาหาความถือเป็นการเล่นเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น