เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู Information and Communication Technology for Teachers

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

ประเพณีเข้าพรรษา


ประเพณีเข้าพรรษา

ประวัติประเพณีเข้าพรรษา
ประวัติวันเข้าพรรษานั้นเริ่มต้นจากเมื่อสมัยพุทธกาลโดยพระพุทธเจ้าเป็นผู้กำหนดขึ้นเนื่องจากมีผู้มาเรียกเรียนว่า พระภิกษุสงฆ์เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยไม่หยุดหย่อนเลยแม้กระทั่งหน้าฝนที่ฝนตกหนัก และน้ำหลาก การเดินทางลำบาก กระทั้งบางครั้งพระสงฆ์เหล่านั้นยังเดินไปเหยียบย่ำพืชผัก หรือผลผลิตที่กำลังเติบโต และกำลังผลิดอกออกผล ได้รับความเสียหาย


ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้กำหนดให้ฤดูฝนเป็นฤดูสำหรับการหยุดพักการเดินทางไปเผยแผ่ศาสนาของพระสงฆ์โดยกำหนดให้ตั้งแต่วันแรม 1ค่ำเดือน 8 เป็นวันเข้าพรรษา จนถึงวันขึ้น 15ค่ำเดือน 11และ เป็นวันออกพรรษา เพื่อพระสงฆ์จะได้หยุดพักจากการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และได้ปฏิบัติและศึกษาพระธรรมเพิ่มเติม และสั่งสอนลูกศิษย์หรือพระใหม่ที่เพิ่งบวชได้ร่ำเรียนธรรมะอย่างเต็มที่ โดยให้พระสงฆ์อยู่ประจำที่ไม่ไปจำวัดที่อื่นตลอดระยะเวลา 3เดือนที่เข้าพรรษานั้นแม้แต่คืนเดียว หากพระสงฆ์ไม่สามารถกลับมาทันก่อนรุ่งสางถือว่าภิกษุนั้นขาดพรรษา แต่มีข้อยกเว้นหากมีเหตุจำเป็นไม่สามารถกลับมาได้ทัน แต่ต้องกลับมาภายใน 7วัน นั้นคือ
  1. ไปรักษาภิกษุหรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย
  2. ไปห้ามไม่ให้ภิกษุสงฆ์นั้นสึกออกจาการเป็นพระสงฆ์
  3. ไปเพื่อธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปยารักษาโรคหรืออุปกรณ์ซ่อมแซมศาสนะสถาน
  4. ทายกนิมนต์ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขา
หากมีเหตุจำเป็นเหล่านี้พระสงฆ์สามารถกระทำ สัตตาหกรณียะ คือ ไปค้างที่อื่นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษาหรืออาบัติแต่อย่างใด ซึ่งนอกจากจะห้ามดังกล่าวแล้วพระสงฆ์จะได้มีอากาศได้อบรม หรือเทศนาให้กับพุทธศาสนิกชนที่เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรม และถือศีลปฏิบัติธรรมตลอดระยะเวลา 3เดือนที่เข้าพรรษา ซึ่งนั้นคือที่มาและประวัติวันเข้าพรรษาที่เราชาวพุทธต้องรู้และปฏิบัติ
และหากมีเหตุจำเป็นสุดวิสัยจริงๆที่ทำให้ไม่สามารถกลับมาทันได้ ก็ถือว่าไม่อาบัติหรือขาดพรรษาแต่อย่างใด ซึงได้แก่
  1. ถูกโจรปล้น ถูสัตว์ทำร้าย วิหารถูกไฟไหม้หรือน้ำท่วมจำเป็นต้องไปอยู่ที่อื่นก่อน
  2. ชาวบ้านถูกโจรปล้น จำเป็นต้องย้ายไปพร้อมกับชาวบ้านด้วย
  3. ขาดแคลนยารักษาโรค หรืออาหาร จำเป็นต้องออกไปบิณฑบาต
  4. มีผู้เอาทรัพย์มาล่อ อนุญาตให้หนีไปเสียให้พ้นได้
  5. ภิกษุสงฆ์แตกกันหรือมีผู้พยายามทำให้ภิกษุสงฆ์ในวัดแตกกัน ให้ไปเพื่อหาทางระงับได้
แต่เหตุเหล่านี้มีน้อย หรือไม่มีแล้วในปัจจุบัน และมีบางข้อเท่านั้นที่ยังมีให้เห็นได้ เช่น เหตุที่ขาดแคลนอาหารของพระสงฆ์ของวัดที่อยู่ห่างไกลจากหมู่บ้าน หรือผู้คน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น